นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบา (Light weight Cellular Concrete:LCC)

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบา (Light weight Cellular Concrete:LCC) เป็นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการสร้างฟองอากาศจากภายนอกแล้วนำไปผสมกับส่วนผสม มอร์ต้า(Morta) ทำให้ฟองอากาศแทรกตัวในเนื้อมอร์ต้า เกิดคุณสมบัติ กันร้อน กันเสียง กันน้ำ แข็งแรง-น้ำหนักเบา

รายละเอียดคอร์สเรียน

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบา (Light weight Cellular Concrete:LCC) เป็นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการสร้างฟองอากาศจากภายนอกแล้วนำไปผสมกับส่วนผสม มอร์ต้า(Morta) ทำให้ฟองอากาศแทรกตัวในเนื้อมอร์ต้า เกิดคุณสมบัติ กันร้อน กันเสียง กันน้ำ แข็งแรง-น้ำหนักเบา  

www.infinity-concrete.com




รูปภาพแสดงเครื่องสร้างฟองอากาศ จากประเทศอเมริกา ปี 1956


Air Bubble Concrete

สารสร้างฟองอากาศ (Air Bubble Concrete) หรือ บางครั้งในต่างประเทศเรียกว่า โฟมคอนกรีต (Foam Concrete) ทำให้ผู้ใช้อาจสับสนว่า โฟมคอนกรีตต้องเป็นลักษณะเม็ดเล็ก ๆ สีขาว แต่ในเทคโนโลยีของคอนกรีตเซลลูล่า เป็นการนำฟองอากาศขนาดเล็ก ๆ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 100-400 ไมครอน (อ้างอิงจาก ASTM C796) ใส่ลงไปในเนื้อของมอร์ต้า (ซีเมนต์+น้ำ+ทราย) ทำให้คอนกรีตดังกล่าว มีน้ำหนักเบา ฉนวนกันความร้อน การดูดซิมน้ำต่ำ ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของคอนกรีตเซลลูล่า อาจกล่าวอีกนัยว่า ขึ้นอยู่กับการใส่ปริมาณฟองอากาศเข้าไป การใส่ฟองอากาศเข้าไปน้อยก็แข็งแรงมาก การเป็นฉนวนกันความร้อนจะต่ำ ถ้าใส่ฟองอากาศเข้าไปมากความแข็งแรงก็จะน้อย การเป็นฉนวนกันความร้อนจะมาก



ภาพถ่ายฟองอากาศและวัดขนาด ที่แทรกในคอนกรีตเซลลูล่า ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ SEM อ้างอิงจาก ดร.อภัย ชาภิรมย์



Mix Design Calculator

เป็นสิ่งสำคัญมากในการผลิตคอนกรีตมวลเบาเซลล์กรีต ที่ต้องการมีคุณภาพ และมาตรฐานตามที่กำหนด การออกแบบ Mix Design ที่ดีต้องมีความสัมพันธ์กับชุดเครื่องมือการผลิตคอนกรีตเซลล์กรีต จะต้องทำการออกแบบให้สอดคล้องกัน ในประเทศไทยยังไม่มีการเรียนการสอนและหนังสือให้ค้นคว้าด้านการออกแบบสัดส่วนผสมด้านนี้มากเท่าไร โปรแกรม Mix Design เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จนกระทั่งสามารถนำ Mix Design Program LCC นำมาเขียนในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำไปใช้ได้กับน้ำยาสร้างฟองโฟม และเครื่องมือของที่อื่นได้ พร้อมกับการทดสอบเปรียบเทียบผลการออกแบบกับการทดสอบมากกว่า 1000 ตัวอย่างปัจจุบันได้พัฒนาเวอร์ชั่นที่ 4.1 ภายใต้ชื่อโปรแกรม Concrete Cellular Mix Design Version 4.1 จนได้ค่าที่ออกแบบ มีความแม่นยำกับกำลังรับแรงอัดที่คาดการณ์ไว้และสามารถควบคุมความหนาแน่นตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยการพัฒนาจาก โครงการพัฒนานักวิจัยอุตสาหกรรม ปริญญาเอก (พวอ.) จากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)





LCC Basic

ชุดผลิต รุ่นนี้ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นประกอบธุรกิจ หรือต้องการเรียนรู้ทดลอง นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบา แบบเติมฟองอากาศ (Cell- Crete) ที่มีงบประมาณ การลงทุนจำกัด แต่สามารถรับรองการผลิต ของรุ่นที่สูงกว่าได้

สินค้าที่ผลิต

  • คอนกรีต บล็อกมวลเบาแบบเติมอากาศและ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเซลล์กรีต

คุณลักษณะ

  • เครื่องสร้างฟองโฟมคอนกรีต LCC แบบควบคุมเวลา ปั๊มลม และถังใส่น้ำยา 200 ลิตร จำนวน 1 ชุด
  • ขบวนการผลิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 1 วัน
  • โปรแกรมออกแบบสัดส่วน ผสมคอนกรีตเซลลูลาร์ Mix Design
  • น้ำยาสร้างฟองโฟมจำนวน 5 ลิตร









เกี่ยวกับเรา

Profile

Dr. ดร.อภัย ชาภิรมย์

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบา (Light weight Cellular Concrete:LCC)

เลขานุการ/ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างฯ (SIE-CON) สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ กรรมการผู้จัดการ/วิศวกร บจก.อินฟินนิตี้คอนสตรัคชั่น
Profile

ผศ.ดร. ผศ.ดร.ธีรวัฒน์ สินศิริ

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบา (Light weight Cellular Concrete:LCC)

หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และศูนย์นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างฯ (SIE-CON) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

แพ็คเกจเรียน

ไม่จำกัดเวลา

ในราคา

คอร์สเรียนฟรี

โปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง