
รายละเอียด / สิ่งที่คุณจะได้รับ
เกี่ยวกับเรา
ดร.อภัย ชาภิรมย์
อาจารย์สาขาวิศวกรรมระบบ/ผู้เชี่ยวชาญ /เลขานุการศูนย์นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างฯ (SIE-CON) สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ/วิศวกรออกแบบโครงสร้าง / กรรมการผู้จัดการ บจก.อินฟินนิตี้คอนสตรัคชั่นคอร์สดูวีดีโอ - การออกแบบโครงสร้างด้วย SAP2000 เพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้าง
เรียนออนไลน์
การออกแบบโครงสร้างด้วย SAP2000 เพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้าง V23 V24
1.เรื่อง การออกแบบโครงสร้างด้วย SAP2000 เพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้าง
2.ผู้สอน ดร.อภัย ชาภิรมย์
3.ลักษณะการสอน สอนสด และมีบันทึกวีดีโอดูย้อนหลังได้
4.จำนวนชั่วโมงสอน 20 ชั่วโมง
5. การฝึกปฏิบัติ ใบงานระหว่างเรียน (Work Shop)
6. ระดับเนื้อหาเหมาะสำหรับ ผู้ไม่เคยใช้โปรแกรมมาก่อน , ผู้ใช้ระดับต้น , ผู้ใช้ระดับกลาง
7. เนื้อหาโดยสังเขป
การเรียนในคอร์ดนี้เน้น “ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง” เป็นหลัก CSI SAP2000 เป็นโปรแกรมวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับความนิยม มีจุดเด่นสำหรับ การวิเคราะห์โครงสร้างและออกแบบอาคารทั่วไป หรือ โครงสร้างซับซ้อน , โครงสร้างเหล็ก , สะพานแขวน ทั้งอาคารคอนกรีต-เหล็ก สามารถวิเคราะห์แรงลมและแรงแผ่นดินไหว ในคอร์ดนี้ผู้สอนได้เตรียมเนื้อหา ทั้งทฤษฎีและประสบการณ์ ในการทำงาน การออกแบบและจัดทำรายการคำนวณ จะนำผลการวิเคราะห์จากโปรแกรมออกมาคำนวณมือ ด้วย Work Sheet ที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้ พร้อมกับ เทคนิคในการจำลองโครงสร้าง, การวิเคราะห์โครงสร้างเปรียบเทียบกับรายการคำนวณมือ, การกำหนดพฤติกรรมโครงสร้าง, ตัวอย่างการออกแบบต่าง ๆ อาทิ โครงสร้างหลังคาโค้ง , PEB , อาคาร 3 ชั้น เป็นต้น ที่ละขั้นตอนอย่างละเอียด ตั้งแต่เริ่มต้น ผู้เรียนสามารถซักถาม-แลกเปลี่ยน กับผู้สอนได้ทันที
9.เครื่องมือในการเรียน คอมพิวเตอร์ ไม่ต่ำกว่า Intel Core-i3, RAM 256 MB, HD 500 G., VGA NVIDIA , โปรแกรมทดลองใช้ CSI SAP2000 V23 , File work shop ประกอบการเรียน
10.แผนการสอนและเนื้อหาชั่วโมง ในการสอน
คาบที่ 1 (2ชั่วโมง)
- แนวคิดวิศวกรออกแบบโครงสร้าง ในยุคปัจจุบัน
- แนะนำการใช้ โปรแกรม SAP2000 , ETABS , SAFE , COL
- วิศวกรออกแบบโครงสร้าง กับ เทคโนโลยี BIM
- พื้นฐานไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEM) ที่สำคัญต่อการใช้โปรแกรม
คาบที่ 2 (2ชั่วโมง)
-แนะนำการใช้เครื่องมือที่สำคัญของโปรแกรม SAP2000
- การใช้เครื่องมือ วาดแบบจำลอง Node , Frame , Cable
- เทคนิคการวาด Node , Frame , Cable
คาบที่ 3 (2ชั่วโมง)
- เทคนิคการวาดแบบจำลอง Frame , Area
- คุณสมบัติ Area ประเภทต่าง ๆ (Membrane, Shell, Plate)
คาบที่ 4 (2ชั่วโมง)
-การใช้เครื่องมือ วาดแบบจำลอง Steel แบบโครงถักด้วยเหล็กรีดเย็น
-พื้นฐานความรู้มาตรฐานเหล็กรูปพรรณเบื้องต้น
-เทคนิคการวาดหลังคาโค้ง และการนำโมเดลเข้าจาก Sketchup
คาบที่ 5 (2ชั่วโมง)
-การใช้เครื่องมือ วาดแบบจำลองอาคารพักอาศัยรวม 3 ชั้น ครั้งที่ 1
-การสร้างระบบ Grid Line
-การกำหนดพฤติกรรมชิ้นส่วน จุดรองรับ-เสา-คาน-พื้น-การวาดชิ้นส่วน Area (Membrane , Shell , Plate)
-การแบ่งตาข่าย (Mesh)
คาบที่ 6 (2ชั่วโมง)
-การใช้เครื่องมือ วาดแบบจำลองอาคารพักอาศัยรวม 3 ชั้น ครั้งที่ 2
-เทคนิคการวาดพื้นโค้ง และเครื่องมือพิเศษ
คาบที่ 7 (2ชั่วโมง)
-การตรวจสอบน้ำหนักกระทำ และคำนวณมือเปรียบเทียบกับโปรแกรม
- Load Patterns , Load Case , Load Combination , Envelope
คาบที่ 8 (2ชั่วโมง)
-แรงลม (Wind Load) กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 พ.ศ.2527
-แรงแผ่นดินไหว (Earthquake) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2564
คาบที่ 9 (2ชั่วโมง)
-การออกแบบและจัดทำรายการคำนวณ บ้านพักอาศัย 2 ชั้น
-ข้อมูลสำหรับ จัดทำรายการคำนวณ ตามกฎหมาย
-การนำผลการวิเคราะห์จากโปรแกรม แบบตาราง
-การออกแบบและจัดทำรายการคำนวณ บ้านพักอาศัย 2 ชั้น
-การเปรียบเทียบพฤติกรรมหลังคารูปแบบต่าง ๆ
-การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วย Work Sheet Excel
คาบที่ 10 (2ชั่วโมง)
-การออกแบบโครงสร้างพิเศษ สะพานแขวน
-การออกแบบโครงสร้างเหล็ก PEB
-การใช้โปรแกรม RAM Connection ในการออกแบบจุดต่อเหล็ก
-สรุปเนื้อหาสอนทั้งหมด และวิธีการส่งการบ้าน